วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่13 มกราคม..2563 
เวลา08:30-12:30 .


เนื้อหาที่เรียน

       พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมานั้นเกิดมาจากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กนั้น 
มาจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปีพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่เช่นการไขว่คว้าการเคลื่อนไหวการมอง
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ2-7 ปี
แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีกขั้นคือ      
 - ขั้นก่อนเกิดสังกัป(Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้นสามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์เหตุการณ์หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล(Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ4-7 ปีขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรวมตัวดีขึ้นรู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ

  1. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ7-11 ปีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
  2. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ11-15 ปีในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอดคือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลงเด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
      
คำศัพท์
  1. Parenting การอบรมเลี้ยงดู
  2. Accommodation การปรับและการจัดระบบ
  3. Recognition การรับรู้
  4. Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  5. Assimilation การซึมซับ

การประเมิน

ประเมินตนเองมีส่วนร่วนในห้องเรียนให้ความร่วมมือกับอาจารย์
ประเมินเพื่อนเพื่อนๆตั้งใจฟังและทำความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย


วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ มีนาคม 2563 
เวลา 08:30-12:30

เนื้อหาที่เรียน
       การบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์เข้ากับหน่วยการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมหลักทั้ง กิจกรรม
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ผีเสื้อ
         ประเภท
         ลักษณะ
         การดำรงชีวิต
         ประโยชน์/ข้อระวัง
         ความงามของผีเสื้อ 

 วันจันทร์
 ประเภทของผีเสื้อ
-ผีเสื้อกลางวัน
-ผีเสื้อกลางคืน
 วันอังคาร
-ลักษณะของผีเสื้อ
 วันพุธ
-การดำรงชีวิตของผีเสื้อ
วันพฤหัสบดี
-ประโยชน์/ข้อควรระวัง
วันศุกร์ 
-ความงามของผีเสื้อ

ศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. subsistence   การดำรงชีวิต
2.pupa          ดักแด้
3. Rank   ลำดับขั้น  
4. butterfly    ผีเสื้อ
5. mathematics  คณิตศาสตร์

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายราละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์เข้ากับหน่วยการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมหลักทั้ง กิจกรรมได้อย่างละเอียด
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และทำงานออกมาได้เป็นอย่างดี
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และพยายามเขียนมายแมพออกมาให้ดีที่สุด

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 
เวลา 08:30-12:30 น.

การทำ mind mapping ที่ดี
1.วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษ เพราะพื้นที่ว่างตรงกลางแผ่นกระดาษนั้นทำให้สมองเรารู้สึกถึงความมีอิสระพร้อมที่จะสร้างสรรเพิ่มเติมได้อย่างเต็มที่ 
2.ใช้รูปภาพหรือจะวาดรูปประกอบไอเดียที่เราเพิ่งจะเขียนลงไปตรงกลางเมื่อกี้ เพราะรูปภาพนั้นสื่อความหมายได้มากมาย 
3.เล่นสีเยอะๆ เพราะสีสันที่สดใส จะทำให้สมองเราตื่นตัว รู้สึกตื่นเต้น ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่าน โดยเฉพาะสีเหลืองคือสีที่สมองเราจำแม่นสุดที่สุด
4.วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลางต้องให้เส้นเชื่อมต่อกันเพื่อให้สมองเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน เอาข้อมูลต่างๆ มาผสมกันเพื่อให้เราจำง่ายขึ้น
5.วาดเส้นโค้งเข้าไว้สมองเราอ่อนไหวนะครับ ไม่ชอบอะไรที่ทื่อๆ ตรงๆ หรอกครับ และที่สำคัญคือ มันสวยดีครับ
6. เขียนคีย์เวิร์ดบนเส้นกิ่งอย่าไปเขียนใต้กิ่ง หรือเว้นว่างๆ ไว้เพราะมันจะทำให้เราคิดแบบไม่ต่อเนื่อง พยามหาคำโดนๆ สั้นๆ เพื่อให้เราจำง่ายดีกว่าครับ
7.ให้เขียนหัวข้อวนไปทางขวา