บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
-เด็กจะเริ่มเรียนจากของจริงก่อน(ของเล่นจริง)แล้วจึงเรียนด้วยนามธรรม(หนังสือนิทาน,หนังสือแบบฝึก)
-นิยามของคำว่าพัฒนาการ>>> ความสามารถที่เด็กแสดงออกตามขั้นอายุ
-ลักษณะของพัฒนาการ>>> พัฒนาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง
-วิธีการจัดประสบการณ์>>> ออกแบบให้สอดคล้องกับการเล่นของเด็ก
สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์6 สาระ
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นให้เด็กก่อนแล้วจึงจะจัดอันดับ
การรวมตัวเป็นการนับจำนวนต่างๆสองกลุ่มได้ผลรวมมากขึ้น
สาระที่2 การวัด
การวัดความยาวความสูงของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานเช่นการใช้นิ้วมือฝามือศอกเชือก
การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐานเช่นมือการทำคาน หนักกว่าเบากว่าหนักเท่ากันเป็นคำที่ใช้ในการเปรียนเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
สาระที่3 เรขาคณิต
ข้างบนข้างล่างข้างในข้างนอกระหว่าซ้ายขวาใกล้ไกลเป็นคำที่บอกตำแหน่งทิศทาง
การจำแนกทรงของวงกลมทรงสี่เหลี่ยมกรวยจะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง
การจำแนกทรงของวงกลมทรงสี่เหลี่ยมกรวยจะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง
สาระที่4 พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุดของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามนำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิต
มีความสามารถในการแก้ปัญหาการให้เหตุผลการสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์
คำศัพท์
1.Learning สาระการเรียนรู้
2.Between ระหว่าง
3.Geometry เรขาคณิต
4.Skills ทักษะ
5.Measuring การวัด
ประเมิน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ทั้ง6สาระและมอบหมายงาน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการถามตอบ
ประเมินเพื่อน: ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย